วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

5 สถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ต้องรีบพาน้องหมาไปหาหมอ

 5 สถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ต้องรีบพาน้องหมาไปหาหมอ มาเล่าให้ฟังกันไป


     มาดูรายละเอียดและวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นกันดีกว่าครับว่า ถ้าหากเกิดสถานการณ์เหล่านี้ขึ้นกับสุนัขของเรา เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง ...


1. คลอดลูกไม่ออก

       เป็นสถานการณ์ที่น้องหมาไม่สามารถเบ่งลูกออกมาได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือ โดยสถานการณ์นี้อาจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น

    - แม่สุนัขมีช่องเชิงกรานแคบ

     - แม่สุนัขเคยกระดูกเชิงกรานหัก

     - แม่สุนัขที่ไม่มีแรงเบ่งลูกออกมา หรือเบ่งมากจนหมดเรี่ยวแรง

     - ตัวของลูกที่มีขนาดใหญ่ เช่น พันธุ์บลูด็อก

     - ลูกสุนัขอาจคลอดผิดท่าลำตัวขวางเชิงกราน

     - ลูกสุนัขตายก่อนคลอด

     - ลูกสุนัขมีรูปร่างผิดธรรมชาติ

        เราสังเกตอาการคลอดยากได้โดย การที่มีของเหลวสีเขียวไหลจากช่องคลอดนาน 2 ชั่วโมงแล้ว แต่ไม่มีการเบ่งลูกออกมา น้องหมาพยายามเบ่งนานกว่า 2 ชั่วโมง หรือเบ่งแบบรุนแรงต่อเนื่องกัน 30 นาที แล้วก็ยังไม่ลูกออกมา ระยะเวลาการเบ่งลูกตัวนี้ห่างจากลูกตัวที่แล้วนานกว่า 2 ชั่วโมง หรือพบอวัยวะของลูกโผล่ออกมาบางส่วนแล้วก็ยังไม่มีตัวลูกออกมา

       ถ้าเราพบอาการเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่งให้ถือว่าน้องหมาคลอดลูกยากครับ ต้องได้รับการช่วยเหลือโดยเร่งด่วน เราอาจสวมบทบาทเป็นหมอตำแยช่วยทำคลอดให้น้องหมาได้ โดยช่วยดึงตัวลูกออกมาตามจังหวะแรงเบ่งของแม่ แต่ถ้าดึงแล้วลูกไม่ออกมา ก็อย่าฝืนออกแรงนะครับ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ให้รีบนำตัวส่งพบคุณหมอโดยด่วนจะดีกว่า

2. ไส้ทะลัก ตาถลน

       สถานการณ์แบบนี้ใครเห็นคงต้องตกใจ ไส้ทะลักแบบปลิ้นออกมาทางรูทวาร มักเกิดกับน้องหมาที่ท้องเสียบ่อยๆ เบ่งถ่ายรุนแรง อีกแบบเกิดจากอุบัติเหตุจนเกิดแผลที่หน้าท้องไส้ไหลออกมา

     ส่วนตาถลนเกิดจากการทะเลาะต่อสู่กัน ในกรณีนี้น้องหมาพันธุ์หน้าสั้นมีความเสี่ยงมากครับ บางรายอาจมีแผลที่กระจกตาด้วย

     ถ้าเราพบไส้ทะลักหรือตาถลนให้ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดพันกดไว้ โดยพยายามอย่าให้อวัยวะเหล่านั้นหลุดออกมามากเกินไป แล้วรีบพาไปหาคุณหมอ


3. ไข้สูงจัด ตัวเย็นจัด

       โดยปกติแล้วอุณหภูมิร่างกายของน้องหมาอยู่ที่ 100.5-102.5 ๐F เมื่อน้องหมามีไข้ จะหายใจเร็วขึ้น เพื่อรับเอาอากาศที่เย็นกว่าเข้าร่างกาย ลิ้นและเหงือกมีสีแดงเข้ม มีน้ำลายมากและเหนียวข้น จมูกแห้ง อาจมีภาวะขาดน้ำร่วมด้วยได้ สาเหตุของการเกิดอาหารไข้สูงจัด ตัวเย็นนั้นอาจเกิดได้จาก การที่อากาศร้อนแล้วถูกขังไว้ในรถยนต์ หรือถูกมัดปากในขณะที่เป่าขน รวมไปถึงน้องหมาพันธุ์หน้าสั้นที่ระบบหายใจไม่ดีและมีปัญหาอ้วนร่วมด้วย หากอุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 106 ๐F จะทำให้ช็อกได้

       วิธีการลดไข้ทำได้โดย การพาสุนัขมาอยู่ในที่เย็นกว่ามีอากาศถ่ายเทสะดวก เช่น ในห้องแอร์ ใช้ผ้าชุบน้ำหรือน้ำเย็น เช็ดตามตัวเน้นตามข้อพับ ขาหนีบ ปลายเท้า และฝ่าเท้า หรือใช้แอลกอฮอล์พ่นที่ฝ่าเท้า บางทีอาจต้องใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งสวนทางทวารเพื่อลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว

       ในทางตรงกันข้ามถ้าร่างกายมีอุณหภูมิต่ำ จะทำให้ซึม ตัวสั่น นอนขดตัว สาเหตุอาจเกิดจากอยู่ในที่หนาวเย็น ตัวเปียก จมน้ำ มีภาวะติดเชื้ออยู่ในขณะและหลังจากการวางยาสลบ หรือเป็นลูกสุนัขเพิ่งคลอดมาใหม่ๆ เราสามารถช่วยได้โดย เช็ดตัวให้แห้ง ใช้เครื่องเป่าขนเป่า เปิดไฟกก ห่มผ้า ประคบตัวด้วยถุงน้ำร้อน หรือใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตามตัว เน้นข้อพับ ขาหนีบ ฝ่าเท้า ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 96 ๐F  จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ควรรีบปฐมพยาบาลก่อน หลังจากน้องหมากลับมาอยู่ในสภาพปกติแล้ว จึงควรนำมาหาคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป

 4. ท้องอืด พุงกาง

     สาเหตุของพุงกางเกิดได้ตั้งแต่มีอาหาร (Food) มีอุจจาระ (Feces) มีน้ำ (Fluid) มีแก๊ส (Flatus) หรือมีลูก (Fetus) อยู่ในท้อง จำง่าย ๆ ว่า “5 F” ปกติน้ำจะไม่สะสมในช่องท้อง ยกเว้นมีแผลในช่องท้อง อวัยวะฉีกขาด เลือดตกใน หรือเกิดจากโรคเรื้อรังบางโรคที่ทำให้มีน้ำไปสะสมในช่องท้อง เราทราบได้ว่ามีน้ำสะสมในช่องท้องโดย วางฝ่ามื้อขนาบลงบนข้างท้องน้องหมาทั้ง 2 ข้าง แล้วลองเคาะที่ผนังท้องข้างหนึ่ง จะพบว่ามีแรงกระเพื้อมของน้ำไปกระทบกับมืออีกข้างหนึ่งของเรา การที่มีน้ำสะสมในช่องท้องมากอาจไปเบียดช่องอกทำให้น้องหมาหายใจลำบากได้ ต้องไปให้คุณหมอช่วยเจาะระบายน้ำออกผ่านหน้าท้อง

    ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือมีแก๊สสะสมในกระเพาะหรือสำไส้ แก๊สอาจจะเกิดจากอาหารที่ไม่ย่อยหมักหมมจนเกิดแก๊ส หรือน้องหมาที่อ้าปากหอบสูดเอาอากาศเข้าไปสะสมในกระเพาะ ที่ร้ายกว่านั้น คือ กระเพาะที่ขยายแล้วเกิดการบิดหมุน เรียกว่า Acute Gastric Dilatation and Volvolus (GDV) มักพบกับตัวที่มีนิสัยกินอาหารเร็วและปริมาณมากๆ แล้วไปวิ่งหรือนอนกลิ้งแบบเอาสันหลังเป็นจุดหมุน เสี่ยงมากในน้องหมาที่มีอกแคบและลึก เราสามารถทราบว่ามีแก๊สสะสมอยู่โดย สังเกตเห็นว่าพุงกางขยายขึ้นคล้ายเวลาเป่าลูกโป่ง ถ้าเราลองเคาะดูจะรู้สึกเช่นเดียวกับเวลาเราเคาะลูกโป่งหรือตีกลอง น้องหมาจะเจ็บมากเมื่อเราเคาะ หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ให้รีบพาน้องหมาไปหาคุณหมอทันที


5.




ปวดอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน

      สถานการณ์นี้จะพบว่าน้องหมาจะเกร็ง ตัวสั่น กระวนกระวาย ร้องคราง เห่า หอน หายใจหอบ จับหรือแตะจะเจ็บปวดมาก ซึ่งมีสาเหตุมากมาย ได้แก่ ตกจากที่สูง รถชน กระดูกหักแบบมีกระดูกโผล่ออกมา มีบาดแผลขนาดใหญ่ มีบาดแผลทะลุช่องอกหรือช่องท้อง ปัสสาวะไม่ออก กระเพาะปัสสาวะแตก มดลูกแตก กระเพาะอาหารบิดและหมุน ผนังช่องท้องอักเสบ เป็นต้น ถ้ามีอาการปวดเนื่องจากสาเหตุเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งให้รีบพาส่งคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป
สอบถาม ปัญหาหมาได้ที่  http://www.ฝึกหมา.com , http://www.ฝึกสุนัข.com หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่( www.xn--12cc2eo0ezb5as.com , www.xn--12c9cn3bxbu.com http://xn--12c9cn3bxbu.blogspot.com,http://xn--22c9ba8aeyte4cpgc3fulsa8d.blogspot.com , http://xn--22cj8c5aib4c1c3cwei.blogspot.com , http://xn--12cc2eo0ezbd4c.blogspot.com , http://xn--m3ceurwq3c6h7d.blogspot.com ,http://xn--22c9bxa0bdn4a6c.blogspot.com , http://xn--12cco6era5au6bzdd9a2b0g2f.blogspot.com , http://xn--22ca6cdwa2j4bf2e.blogspot.com , http://xn--22c9acs4b7cwbn.blogspot.comhttp://xn--22cm2bo6cyaq1dl9czo.blogspot.com ,http://k9trianingdog.blogspot.com )